แบบที่1 Carolina Rig แคโรไลน่า ริ๊ก
ชื่อ นี้ทุกท่านน่าจะคุ้นหูกันดี คำว่า ริ๊ก แปลว่า เล่ห์ หรือ อุบาย การประกอบก็ตามรูปครับ ตามตำราแต่ดั้งเดิม บอกว่าให้ใช้ ตะกั่วรูปทรงลูกปืน หรือทรงรักบี้ ทรงกลมก็ได้ เน้นก็ตรงที่ขนาดให้เล็กไว้ก่อน เพื่อเมื่อปลากินเหยื่อ จะได้ไม่มีแรงกดของตะกั่ว ทำให้ปลาระแวงคายเหยื่อ สายหลีดที่ใช้ ควรใช้สายเล็ก ๆ และควรเป็นสีที่ไม่สะดุดตาไปกว่าเหยื่อยางของเรา อาจเป็นใสธรรมดา หรื่อหากปลามีฟัน และครีบที่คม ใช้สายถัก หรือ สายลวดหุ้มพลาสติกเล็ก ๆ ก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ตัวเบ็ดที่นิยมใช้กับเหยื่อยางนี้ มีก้านยาวพอสมควร หากปลาไม่กลืนเหยื่อ ก็คงไม่ทำอันตรายกับสายเราได้ ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพการณ์แต่ละครั้งของการตกปลาครับ จากตัวเบ็ดสายลีดเดอร์นิยมใช้ยาวอยู่ประมาณ 8-10 นิ้ว หรือยาวมากกว่า ผูกเข้ากับลูกหมุน ตามด้วย ลูกปัดเล็ก ๆ ไม่ควรใช้สีสะดุดตา ต่อด้วยตะกั่วทรงลูกปืน
หมาย เหตุ ลูกปัดใส่สำหรับ กัน ตะกั่ว ซึ่งมีเนื่ออ่อน กดทับลูกหมุน จนเป็นรอยบาก ซึ่งอาจทำอันตรายกับสายเบ็ดได้
การใช้งานแบบ Carolina Rig นี้ เหมาะกับการตกปลาโดยมีข้อสังเกตดังนี้
1. มักใช้งานกับสภาพพื้นน้ำที่มีดินตะกอนทับถมอยู่มากหรือขั้นเป็นดินเลน การประกอบเหยื่อแบบนี้ มักนิยมใช้ร่วมกับเหยื่อ แบบลอย มากกว่าแบบ เหยื่อจมนะครับ หากผู้ผลิตไม่แจ้ง ก่อนใช้งาน เราควรทดสอบด้วยการทิ้งลงน้ำดูก่อน ว่าเหยื่อยางที่เรามีอยู่นั้น ลอยน้ำหรือจมน้ำ ข้อนี้ เป็นตัวเลือกสำคัญ ในการใช้งานให้เหมาะกับพื้นที่ และ ชนิดปลาหรือระยะที่ปลาแต่ละชนิดเฝ้ารอเหยื่ออยู่
2. เหมาะ กับแหล่งสภาพน้ำไหล เช่นลำธาร หรือแม่น้ำ คลองส่งน้ำ สายลีดเดอร์ที่ยาวนี้จะช่วยให้เหยื่อพลิ้วไหว อย่างนุ่มนวล ไม่สั่นระริก จนปลางับไม่ทัน หรือเหยื่อโดนแรงน้ำ พัดจนส่ายเสียปลาตกใจ แทนที่จะเข้าชาร์ตเหยื่อ เรื่องนี้ นักตกปลาทะเลส่วนใหญ่ เข้าใจเรื่องสายหน้า ยาว ๆ นี้ดีครับ
3. มัก ดูช่วงเวลา และชนิดปลาล่าเหยื่อเป็นหลัก เมื่อเราประกอบเข้ากับเหยื่อแบบจม เหยื่อจะคืบคลาน บนผิวดินใต้น้ำ หากใช้เหยื่อลอย เหยื่อจะถูกยกขึ้นจากพื้นน้ำ ปลาที่ไม่ได้นอนรอเหยื่ออยู่พื้นน้ำจะสามารถเห็นเหยื่อได้ง่ายขึ้น
==============================
แบบที่2 การประกอบเหยื่อแบบ Texas Rig
การประกอบแบบนี้ ดูได้ที่ภาพครับ จะเห็นว่า ตะกั่ว จะอยู่ติดกับตัวเบ็ด อาจรองลูกปัดเล็ก ๆ กันกระแทก ด้วยสีสะดุดตา ก็ได้ครับ
การ ประกอบชุดสายหน้า แบบ เท็กซัส ริ๊ก นี้ นิยมใช้กับทั้งเหยื่อจม และเหยื่อลอย หากแต่เหยื่อลอย จะเป็นทางเลือกที่นิยมกว่า เพราะขณะสร้างแอ็คชั่น เราสามารถหย่อนสาย ให้ตัวเหยื่อลอยขั้นกว่าปกติ แล้วเพียงกระตุกเบา ๆ ก็สามารถสร้างแอ็คชั่นไห้ตัวเหยื่อได้อีกแบบ ปกติเมื่อประกอบเข้ากับเหยื่อลอย ตัวเหยื่อจะทำมุมตั้งขั้น ประมาณ 70-80 องศา (ในขณะเรากรอสายกลับมาช้า ๆ ) ทำให้ปลาที่กบดาน หรือเฝ้ารอเหยื่ออยู่ที่หน้าพื้นดิน เข้าชาร์ตเหยื่อแบบหวังผลได้ค่อนข้างสูง
==============================
แบบที่3 คือแบบการใช้เบ็ดหัวจิ๊กประกอบเข้ากับตัวเหยื่อโดยตรง
แบบ นี้ นับเป็นทางเลือกที่สะดวกเช่นกัน หากปลาที่ตกไม่ระแวงกับหัวจิ๊ก ที่ออกจะหนักสักนิด (นิดเดียวจริงๆ ) ก็คงไม่พลาดได้ปลามาเชยชมแน่นอน
==============================
แบบที่4 คือการใช้ตัวเบ็ดแบบฝังเข้าตัวเหยื่อแล้วโผล่คมออกมาด้านนอก
การประกอบเหยื่อแบบนี้ เหมาะกับพื้นน้ำเปิด หรือไม่มีอุปสรรคใต้น้ำนะครับ ใช้กันมาก ๆ ก็การจิ๊กเหยื่อจากที่สูง หรือบนเรือครับ ข้อควรระวัง ก็คือการประกอบควรให้ คมเบ็ดโผล่ออกมาด้านหางไม่งอเข้า นะครับ หากเราหันคมเบ็ด เข้าไว้ทางด้านหางงอ เมื่อหย่อน หรือตีเหยื่อ หางจะงอจนฝังเข้ากับคมเบ็ดได้ ทำไห้เหยื่อเสียแอ็คชั่นได้ แต่หากนักตกปลาใช้เหยื่อ กรับหางงอนี้แบบลากผ่านผิวหน้าดิน และไม่ได้เหวี่ยงเบ็ดแบบด้วยแรงที่มากนักการเกี่ยวแบบคมเบ็ดโผล่ทางด้านหาง งอก็นิยมทำกันมานาน นัยย์ว่าเมื่อเบ็ดลากที่ผิวหน้าดิน หางงอจะหงาย และต้านน้ำ ทำให้ออกแอ็คชั่นได้ดีกว่า แต่สำที่ผมใช้ตกปลาบ่อย ๆ มักเกี่ยวคมโผล่ออกอย่างที่กล่าวไว้ตอนแรกครับปลากัดเหมือนกันลองปรับใช้ดู นะครับ
==============================
แบบที่5 คือการใช้เบ็ดก้านสั้น
จากในภาพมีแขนกันสวะ หรือป้องกันตัวเบ็ดเกี่ยวกับกับ อุปสรรคใต้น้ำ การประกอบเหยื่อแบบนี้มักหวังผลกับปลาที่อยู่ตามตอ หรือ กองหินกลางน้ำ นักตกปลาส่วนมากนิยมตีเหยื่อที่ประกอบแบบนี้เข้าหาตอไม้กลางน้ำเลยครับ ตัวเหยื่อจะตกลงน้ำ แบบจมลงช้ากว่า ปกติ (หมายถึงเจ้าตัวยาวด้านบนครับ) อาจมีเจ้าตัวใต้น้ำที่เฝ้าตออยู่ เข้าชาร์ตได้ทันที การสร้างแอ็คชั่นใต้ผิวน้ำก็สามารถทำได้ปกตินะครับ นิยม กระตุกให้ตัวเหยื่อลอยขึ้น แล้วหยุดมากกว่าการกรอสายกลับธรรมดา รูป แบบการใช้งานคร่าว ๆ อย่างที่หลายท่านเคยได้ทราบและเคยสัมผัสมา คงครอบคลุมไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน ส่วนการประกอบ แบบพิเศษ และรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป เช่นการตีเหยื่อบริเวณอุปสรรคมีอยู่มาก เช่น จอก แหน กอบัว
ปกติผมจะไม่กระตุกเหยื่อเท่าใดนัก กับการการประกอบชุดปลายสายแบบที่กล่าวมายกเว้นรู้สึกได้ว่าเหยื่อจมดินเลนใต้น้ำ หรือปลาไม่สนเหยื่อจริงๆแล้วเท่านั้น หัวใจของการใช้เหยื่อยางคือการเคลื่อนที่ช้า ครับ เมื่อตีเหยื่อผมจะมองข้างตลิ่งก่อนเลย ไม่ก็ตอไม้ ที่โพล่ขึ้นเหนือน้ำ ถ้าอยู่บนเรือ ก็มักตีเหยื่อตกริมตลิ่ง ไม่ก็บนหินแล้วค่อยให้เหยื่อหล่นลงน้ำเบา ๆ จากนั้น เมื่อเหยื่อถึงพื้นน้ำ การกรอสายเข้า อย่างช้า ๆ (ช้าที่สุดเท่าที่จะช้าได้ ) เป็นหัวใจของการใช้หนอนยาง เพราะในธรรมชาติ ไม่มีหนอน หรือใส้เดือนตัวใด กระโดดได้ใต้น้ำนะครับ ยกเว้นเหยื่อยางจะรูปร่าง คล้ายปลา หรือที่นิยมใช้แบบกระตุก มาก ๆ ก็เป็นพวกรูปร่างที่มีแพนหางแบนและใหญ่ครับ ข้อมูลนี้ ผมได้จากการใช้งานส่วนตัว รวมถึงคนที่ผมรู้จัก ปลาช่อนเองก็เช่นกัน ผมเคยตกแบบ อยู่บนบ้านพักพิมน้ำ น้ำก็ใสมีปลาช่อนขยับครีบเบา ๆ อยู่กับที่ใต้แพ ผมหย่อนเจ้าหนอนยางหางงอลงไป กระตุกผ่านหน้าปลา ตั้งหลายที ไม่ยอมเข้าชาร์ตครับ จนค่อย ๆ ลาก ผ่านหน้า ช้า ๆ ปลาเข้างับทันที เรื่องระยะ การขยอก หรือกลืนเหยื่อของปลาช่อน มีอยู่บ้าง สังเกตจากการใช้จิ่งจกยางอดีต รวมถึงหลายท่าน ก็มักจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าให้รอนับเลขในใจสักนิด ค่อยวัดเหยื่อ
ในตอนท้ายนี้ ขอเสริมรูปแบบประยุกต์การใช้หนอนยาง สักนิด คือการประกอบแบบ Finesse rig (ฟินเนส ริ๊ก) หรือนิยมเรียกอีกอย่าง ตามลักษณะการประกอบว่า Split shot rig (สปริท ชอร์ท ริ๊ก) การประกอบใช้เหยื่อรูปแบบนี้ ไม่ยากครับ ส่วนมาก นิยมตะกั่วบีบขนาดเล็ก ๆ น้ำหนักเพียงสัก 2-4 กรัม บีบไว้ที่สายเหนือตัวตัวเบ็ดราว ๆ 8-10 นิ้วครับ การใช้เหยื่อรูปแบบนี้ เหมาะกับเหยื่อยางทั้งแบบจมและลอยครับ แบบลอยจะทำให้ตัวเหยื่อตกถึงพื้นช้ากว่า ตอนเรากระตุกให้เหยื่อกระโดดครับ การกระตุกให้กระโดดนี้ สองแบบแรกที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ก็นิยมใช้กันนะครับ แต่แบบ Finesse rig นี้ผมค่อนข้างนิยมใช้ร่วมกับแอ็คชั่นกระโดดมากกว่าครับ
การ ปฏิบัติ เมื่อเราตีเหยื่อเข้าสู่เป้าหมาย รอให้เหยื่อจมถึงพื้นน้ำครับ ตะกั่วเม็ดเล็ก จะค่อย ๆ พาเหยื่อยางถึงพื้นน้ำ หากตัวเหยื่อ พริ้วไหวผ่านหน้าปลาล่าเหยื่อ มันอาจเข้าชาร์ททันที จากพื้นน้ำ ให้เรากระตุกเหยื่อเพียง 1 ครั้ง คันทำมุม สัก 60-80 องศาขณะ รอให้เหยื่อตกถึงพื้นนำอีกครั้ง (เมื่อปลาชาร์ทเราจะรู้สึกได้ไวกว่ามากครับ) อาจกระตุกครั้งที่สอง โดยยังไม่กรอสายครับ กรณีที่เหยื่อเคลื่อนที่กลับมาไม่มากนัก การเคลื่อน ที่ของเหยื่อ จะกระโดดขั้น ตามตะกั่วเม็ดเล็ก แล้ว ดิ่งพริ้วสู่พื้นตามตะกั่วเม็ดเล็กเช่นกัน (ให้นึกถึงคนโดดร่มครับ ) ปลาที่ไม่ได้นอนนิ่งอยู่ผิวน้ำ เมื่อเห็นเหยื่อเรากระโดด จะให้ความสนใจ และกว่าครึ่งจะชาร์ตเหยื่อขณะเหยื่อพริ้วจมลงครับ
==============================
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
fishing4you.com ,g-fishinggame.blogspot.com,จ้าวน้อยฟิชชิ่ง
==============================