drag washers
drag washers เป็นชื่อเรียกที่ถูกต้องของระบบแปลว่าลาก แต่บ้านเราเรียกว่าเบรคที่แปลว่าหยุด ในที่นี้จะเรียกว่าแผ่นเบรคเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน จุดหมุ่งหมายของมันคือให้ปลาลากไปแบบหนักๆ หนืดๆ ฝืดๆ ปลาหายใจโดยกรองอากาศผ่านเหงือก เมื่อปลาต้องออกแรงมากก็จะเหนื่อยง่ายกว่าเราที่หายใจด้วยอากาศโดยตรง ทำให้ปลาหมดแรงเร็วนั้นเอง
drag washers ทำหน้าที่สร้างแรงฝืดให้กับหลอดเก็บสายเอ็น คุณสมบัติของเบรคที่ดีเป็นอย่างไรเรามาดูกันก่อนดีกว่า
1.ต้องสร้างแรงฝืดได้ดี
2.ต้องรักษาแรงกดได้อย่างสม่ำเสมอไม่เกิดอาการสะดุดเป็นจังหวะเมื่อแผ่นเบรคร้อน หรือมีแรงกดที่แผ่นเบรค
3.มีความนุ่มนวลในการทำงานเรียบเนียน
4.ไม่ลดหรือเพิ่มแรงฝืดเมื่ออยู่ระหว่างการใช้งาน
ระบบเบรคมีอยู่สองแบบคือ แบบแผ่นเดี่ยวกับแบบหลายแผ่นซ้อนกัน
1.แบบแผ่นเดี่ยวเป็นแบบแรกที่มีการนำมาใช้งานในยุคต้น จะมีสปูน เฟืองขับอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นที่วางแผ่นเบรค และจะมีแผ่นกดเบรคที่เป็นโลหะปิดทับอยู่อีกที การทำงานจะมีก้านปรับเกลียวขันเข้าไปกดแผ่นกดเบรคให้แน่นเข้า เพื่อสร้างแรงกดอีกทีหนึ่งเราจะพบว่าระหว่างแผ่นกดกับก้านหมุนปรับจะมีแหวนโค้งๆอยู่1-2คู่ แหวนชิ้นนี้ถุกนำมาใส่ไว้เพื่อกระจายแรงกดให้มีระยะการปรับเบรคได้มากขึ้น ละเอียดมากกว่าการกดลงไปตรงๆ ทำหน้าที่คล้ายๆสปริงนั่นเอง โดยมากเราจะยังพบเห็นอยู่ในรอกขนาดใหญ่
2.แบบหลายแผ่นซ้อนกัน ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายด้วยกัน ทั้งรอกสปิน รอกเบท ระบบแผ่นซ้อนหลายแผ่นจะมีความนิ่มนวลสูงให้กำลังแรงกดที่ดี ระบายความร้อนได้ดีกว่าแบบระบบแผ่นเดี่ยว ทำให้การสู้ปลาทำได้ดีขึ้นเพราะความร้อนทำให้แผ่นเบรคเสียสภาพไปได้ง่าย เมื่อมีการระบายความร้อนที่ดีแผ่นเบรคจะคงสภาพอยู่ได้นานยิ่งขึ้น สามารถใช้แผ่นเบรคและแผ่นกดที่มีขนาดเล็กลงทำให้การออกแบบรอกให้ดูสวยงามได้มากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
หลายท่านคงสงสัยระบบการทำงานของชุดเบรคแบบนี่ว่าทำงานได้อย่างไร จุดที่สำคัญของระบบนี้จะอยู่ที่แผ่นกดเบรคที่เป็นโลหะ แกนมือหมุนจะถูกออกแบบมาให้มีด้านที่แบนๆสองด้านถูกทำขึ้นเพื่อล๊อคแผ่นกดเบรคไว้ให้หมุนตามแกนมือหมุน แผ่นกดเบรคชิ้นบนและชิ้นล่างจะทำรูตรงกลางให้มีรูปร่างเหมือนแกนกดเบรค จะเห็นว่าไม่ใช้เป็นรูปวงกลมนั่นเอง ส่วนแผ่นตรงกลางจะมีรูกลางแผ่นเป็นวงกลมแต่ที่ขอบด้านนอกของแผ่นจะทำเป็นติ่งยื่นออกมาฝรั่งเรียกว่าหู ทำเอาไว้ขัดกับรูที่บากไว้ที่เฟืองขับนั้นเองโดยที่แผ่นที่มีหูจะเคลื่อนที่ตามเฟืองขับ เพื่อช่วยสร้างแรงฝืดเมื่อเฟืองถูกแรงดึงจากสายเอ็นให้หมุนเมื่อระบบเบรคทำงาน
ชนิดของแผ่นเบรคแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ
คือแผ่นเบรคที่ใช้งานแบบแผ่นแห้งกับแผ่นเบรคที่ใช้งานแบบเปียก ทั้งสองแบบมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือสร้างความฝืดให้กับหลอดเก็บสายนั้นเอง
1.) ชนิดแผ่นแห้ง มีมากมากหลายชนิด โดยนำมาตัดขึ้นรูปแล้วสามารถนำไปใช้ได้เลยทั้งแบบใช้แผ่นเดี่ยวหรือแบบซ้อนกันหลายแผ่น แผ่นเบรคแบบนี่มักจะพบว่าเป็นแผ่นชนิดแบบแข็งเป็นส่วนมากมีการสึกหลอมากแต่ก็สร้างแรงเสียดทานได้มากเช่นเดียวกัน แผ่นกดเองก็จะมีร่องรอยการสึกหลอเช่นกัน บางครั้งเราจะเห็นว่ามีช่างบางคนใช้จารบีที่มีความหนึดสูงๆทาบนแผ่นเบรคบางๆเพื่อช่วยลดความร้อน,ลดความฝืดและช่วยให้แผ่นเบรคทำงานได้ราบเรียบขึ้นได้อีกทางหนึ่ง แต่มีข้อสังเกตุด้วยว่าแผ่นเบรคแบบแข็งบางชนิดจะเสื่อมสภาพได้เมื่อโดนน้ำมันหรือจารบี
ชนิดของวัสดุที่นำมาทำแผ่นเบรค แบบแห้ง 1.
1. ก๊อกอัดแบบแผ่น ก็อก(Cork) ที่นำมาทำแผ่นเบรค ส่วนใหญ่จะเป็นเศษก๊อกชิ้นเล็กๆอัดขึ้นรูปคุณสมบัติขอกก๊อกแผ่น จะให้สัมผัสที่ราบเรียบ นิ่มนวล และสามารถสร้างแรงเสียดทานได้มากอีกด้วย แต่ยังมีข้อด้อยที่ทนความร้อนได้ไม่สูงนัก เมื่อแผ่นเบรคก๊อกมีความร้อนสูงก็จะเกิดการไหม้ที่พื้นผิวทำให้แรงกดลดลง จากผิวไม้ก๊อกที่เปลี่ยนเป็นคาร์บอนนั่นเอง และแผ่นเบรคก๊อกมีอายุการใช้งานที่ไม่ยาวนานนักและแพ้น้ำมันหรือจารบีทำให้แรงฝืดลดลง
2.แผ่นหนัง แผ่นหนัง นิยมเอามาทำแผ่นเบรคในยุคต้นๆที่มีความต้องการแรงกดเบรคที่มากขึ้น ด้วยคุณสมบัติที่สร้างแรงเสียดทาน ความฝืดได้ดี มีความยืดหยุ่นไม่แข็งกระด้าง เราจะเลื่อกแผ่นหนังอย่างไรที่จะนำมาใช้ทำแผ่นเบรค แผ่นหนังจะต้องเป็นชนิดหยาบทั้งสองหน้า เราสามารถใช้ได้ทั้งแบบแห้งๆใส่ลงไปได้เลย หรือแบบเปียก โดยการนำไปแช่น้ำมันแบบหลังนี้ให้เราแช่ในน้ำมันเครื่อง ก่อนเราจะนำมาใช้ต้องซับน้ำมันออกให้มากที่สุดก่อนนำมาใส่รอกด้วยนะครับ ความหนาบางจะเป็นปัญหาใหญ่ของแผ่นเบรคชนิดนี้ถ้าจะเปลี่ยนแนะนำให้เราเปลี่ยนแผ่นที่อยู่นอกสุดก่อนเพียงแผ่นเดียว อายุการใช้งานต่ำเช่นเดียวกัน แบบเปียกจะมีอายุการใช้งานสั้นลงอีกพอสมควร
4.แผ่นคาบอนถัก carbontex drag washers (HT100)แบบแข็ง,แบบอ่อน(ใช้ในรอกอาบูรุ่นใหม่,รอกเพนน์)
5.แผ่นC2 (ใช้ในรอกอาบูรุ่นเดิม)
6.แผ่นเทปล่อน Teflon drag washers (ใช้ในรอกDaiwa BG)
-----------------------------อาจมีมากกว่านี้นะครับ-----------------------------
2.) ชนิดเปียก จะทำมาจากวัสดุที่มีรูพรุน เป็นใยอัดหรือถักทอขึ้นรูปแบบผืนผ้า ทำการตัดขึ้นรูปพร้อมใช้เมื่อเรานำมาใช้แผ่นเบรคแบบนี้ต้องมีน้ำมันหรือจารบีทาที่ตัวแผ่นเบรคด้วย เพื่อช่วยการทำงานของแผ่นเบรคในการระบายความร้อน และการทำงานได้อย่างนิ่มนวลเรียบลื่น แผ่นเบรคแบบนี้เหมาะกันรอกขนาดเล็กที่ใช้สายเล็กต้องการความกว้างในการปรับรอบการหมุนของการปรับเบรคที่ละเอียดมากๆได้เป็นอย่างดี แผ่นเบรคแบบเปียกอาจจะไม่ตอบสนองกับผู้ที่ต้องการแรงกดเบรคสูงๆได้เพียงพอกับการใช้งาน
มีข้อเตือนใจให้กับผู้ใช้งานที่จะเปลี่ยนแผ่นเบรคจากแผ่นแบบเปียกไปเป็นแผ่นแบบแห้งในรอกบางรุ่น อาจจะทำให้เกิดการสึกหลออย่างรุนแรงกับรอกของท่านได้ในทุกชิ้นส่วนทั้งภายนอกและภานใน เนื่องจากการออกแบบรอกมาไม่ได้เผื่อชิ้นส่วนของรอกให้รับกับแรงกดเบรคที่สูงๆได้นั่นเอง
ชนิดของวัสดุที่นำมาทำแผ่นเบรค แบบเปียก
1.แผ่นหนัง
2.ใยผ้าทออัดผสม(ใช้ในรอกShimano)
3.ใยสังเคราะห์
-----------------------------อาจมีมากกว่านี้ครับ-----------------------------
===============================
ขอขอบคุณที่มาดีๆจาก